แชร์

เคยเห็น ดอกข้าวหอมมะลิ กันบ้างไหม?

อัพเดทล่าสุด: 30 พ.ย. 2024
100 ผู้เข้าชม

เคยเห็น ดอกข้าวหอมมะลิ กันบ้างไหม?

#ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่มี #เกสรตัวผู้ และ #เกสรตัวเมีย สำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกสองแผ่นประสานกันเพื่อห่อหุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกแผ่นใหญ่เรียกว่า lemma ส่วนเปลือกนอกแผ่นเล็กเรียกว่า palea ทั้งสองเปลือกนี้ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้ ถ้าที่เปลือกนี้ไม่มีขน ที่ใบของมันก็จะไม่มีขนและผิวเรียบด้วย ที่ปลายสุดของ lemma จะมีลักษณะเป็นปลายแหลมยื่นออกมา เรียกว่า หาง (awn) พันธุ์ข้าวบางพันธุ์มีหางสั้นและบางพันธุ์ก็มีหางยาว พันธุ์ที่มีหางยาวเป็นลักษณะที่ไม่ต้องการ เพราะทำให้เก็บเกี่ยวและนวดยาก นอกจากนี้อาจทำให้ผู้เข้าไปเก็บเกี่ยวเกิดเป็นแผลตามผิวหนังได้ง่าย ที่ปลายด้านล่างของ lemma และ palea เท่านั้นที่ประสานติดกันอยู่บนก้านสั้น ๆ ที่เรียกว่า rachilla และที่ด้านบนของ rachilla นี้จะมีแผ่นบาง ๆ สองแผ่นขนาดเท่า ๆ กัน ทำหน้าที่บังคับให้ lemma และ palea ดังกล่าวปิดหรือเปิดได้ แผ่นบาง ๆ สองแผ่นนี้เรียกว่า lodicules ที่ฐานของ rachilla จะมีเปลือกบาง ๆ อีกสองแผ่นขนาดเล็กกว่า lemma และ palea และมีรูปร่างค่อนข้างยาวประกบอยู่ที่ฐานของ lemma และ palea เรียกว่า sterile lemmas ซึ่งที่ปลายด้านล่างของ sterile lemmas ก็ประสานติดกันอยู่รอบ ๆ ข้อซึ่งเรียกว่า rudimentary glumes ต่อลงมาก็จะเป็นก้านดอก (pedicel) ซึ่งติดอยู่บนระแง้ทุติยภูมิของช่อดอกข้าวดังกล่าว ส่วนที่อยู่ภายในซึ่ง lemma และ palea ห่อหุ้มไว้นั้น ได้แก่ เกสรตัวผู้ (stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) เกสรตัวผู้ประกอบด้วยกระเปาะสีเหลือง (anther) ซึ่งภายในมีละอองเกสร (pollen grains) ขนาดเล็กจำนวนมาก กระเปาะนี้ติดอยู่บนก้านยาวเรียกว่า filament และเชื่อมติดอยู่กับฐานของดอก ในดอกข้าวแต่ละดอกจะมีกระเปาะเกสรตัวผู้จำนวน ๖ อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยที่รับละอองเกสรตัวผู้ (stigma) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหางกระรอกขนาดเล็กจำนวนสองอัน แต่ละอันมีก้าน (style) เชื่อมติดอยู่กับรังไข่ (ovary) ในรังไข่จะมีไข่ ซึ่งเมื่อถูกผสมเกสรแล้วก็จะกลายเป็น เมล็ด จึงเห็นได้ว่าดอกข้าวเป็นดอกชนิดที่เรียกว่าดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) เพราะมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ฉะนั้น การผสมเกสร (pollination) ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบการผสมตัวเอง (self-pollination) และมีการผสมเกสรแบบข้ามต้น (cross-pollination) เป็นจำนวนน้อยมากหรือประมาณ ๐.๕-๕ % เท่านั้น ปกติการผสมเกสรเกิดขึ้นภายในดอกเดียวกันในเวลาเช้า และก่อนที่ lemma และ palea จะบานออกเล็กน้อย ดอกข้าวจะเริ่มบานจากปลายรวงลงมาสู่ โคนของรวงข้าว และรวงหนึ่ง ๆ จะใช้เวลาประมาณ ๗ วัน เพื่อให้ดอกทุกดอกได้บานและมีการผสมเกสร

 ข้าวฮอร์ ข้าวอินทรีย์สุรินทร์ เราจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์
1.เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ105
2.เมล็ดพันธุ์ข้าวมะลินิลสุรินทร์
3.เมล็ดพันธุ์ข้าวมะลิแดง
4.เมล็ดพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่
5.เมล็ดพันธุ์ข้าวปะกาอำปึล

ข้าวฮอร์ Hor.Boutique ข้าวอินทรีย์สุรินทร์
(ข้าวอินทรีย์สุรินทร์ #มาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ #OrganicThailand, #ข้าวพันธุ์แท้ และ #SurinBest #ของดีจังหวัดสุรินทร์)

 ข้าวอินทรีย์ เรามีจำหน่ายทั้งหมด 7 ชนิด
1.ข้าวหอมมะลิสุรินทร์
2.ข้าวกล้องหอมมะลิสุรินทร์
3.ข้าวปะกาอำปึล ( #ข้าวพื้นเมืองสุรินทร์)
4.ข้าวผสมห้าสายพันธุ์
5.ข้าวกล้องมะลิแดง
6.ข้าวมะลินิลสุรินทร์
7.ข้าวไรซ์เบอรี่
---------------------

ข้าวฮอร์ Hor.Boutique ข้าวอินทรีย์สุรินทร์
ที่ตั้ง 277 หมู่ 14 ถ.พิชิตชัย ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทร. 092-8245655
Website : https://www.hor.boutique/
Facebook : https://www.facebook.com/Hor.Boutique.Brand
Twitter : https://twitter.com/hor_boutique
IG : https://www.instagram.com/hor.boutique/
Tiktok : https://www.tiktok.com/@hor.boutique
Youtube : https://www.youtube.com/@horboutique
SalesPage : https://sites.google.com/view/surinrice
linktr.ee : https://linktr.ee/hor.boutique
--------------------------------------
ส่งข้อความหาเรา
Line: @Hor.Boutique
Inbox : www.m.me/Hor.Boutique.Brand
---------------------------------------
ข้าว Hor ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ พร้อมขายแล้วที่
Website : www.hor.boutique
Shopee : https://shopee.co.th/hor.boutique
Lazada : https://www.lazada.co.th/shop/horboutique/
ไปรษณีย์ : https://www.thailandpostmart.com/shop/horboutique


บทความที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวเมืองที
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้ชุมชน ยลวิถีชีวิตชุมชนตำบลเมืองทีอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
3 เม.ย. 2025
สงกรานต์จังหวัดสุรินทร์ 2568
"มหาสงกรานต์ช้างสุรินทร์" ประจำปี พ.ศ. 2568 สงกรานต์นี้...มาเล่นน้ำกับน้องช้างที่สุรินทร์กัน!  วันที่ 11-13 เมษายน พ.ศ. 2568 ณ สวนสาธารณเฉลิมพระเกียรติ (สวนใหม่) จังหวัดสุรินทร์
2 เม.ย. 2025
ประเพณีขึ้นเขาสวาย ประจำปี2568
ประเพณีขึ้นเขาสวาย ประจำปี 2568 วันเสาร์ 29 มีนาคม 2568 ณ วนอุทยานพนมสวาย ต.นาบัว อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์
2 เม.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy