แชร์

กว่าจะมาเป็นช้างบ้าน

อัพเดทล่าสุด: 24 มิ.ย. 2024
141 ผู้เข้าชม
กว่าจะมาเป็นช้างบ้าน

       ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ที่ความสัมพันธ์ของไทยกับช้างเป็นเรื่องลึกซึ้ง ที่ยากแก่การที่จะอธิบายได้อย่างเด่นชัด เพราะมีทั้งความรัก ความชื่นชมในความฉลาด และแสนรู้
และช้างก็ยังมีบทบาททั้งในกิจการบ้านเมือง ในการพระพุทธศาสนา ซึ่งในกิจกรรมการบ้านเมืองนั้น ช้างถูกนำมาใช้เป็นพาหนะในการเดินทางในป่าลึก หรือท้องถิ่นทุรกันดาร หรือในการศึก การสงคราม โดยนำมาฝึกให้เข้าสู้รบ และ ทำงานอื่นๆ มาอย่างช้านาน
ดังนั้นกว่าจะมาเป็นช้างบ้าน ผู้จับจึงต้องมีการเรียนรู้ในการจับช้าง

โดยการจับช้างตั้งแต่โบราณมี 6 วิธี

ซึ่งการจับช้างจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและความชำนาญของคนในแต่ละท้องถิ่น
1. การแซกโพนช้าง
เป็นการจับช้างที่นิยมในภาคอีสานและภาคเหนือ โดยหมอช้างจะใช้ช้างต่อไล่จับช้างป่า โดยใช้บ่วงบาศ (เชือกปะกำ ไม้คันจาม) คล้องเท้าหลังของช้าง เมื่อจับได้แล้วจะผูกล่ามไว้กับต้นไม้ และนำกลับมาฝึกเพื่อใช้งานต่อ
2. การคล้องช้างหรือจับช้างในเพนียด
เป็นการจับตามพระราชพิธีทอดเชือก ดามเชือก ซึ่งเป็นการคล้องช้างแบบหลวง ซึ่งในโบราณได้ถือปฏิบัติทุกปี ในวันแรม 3 ค่ำ 4 ค่ำ เดือน 5
3. การวังช้าง
กล่าวว่านิยมทำกันในภาคใต้ โดยมีหมอเฒ่าเป็นผู้ควบคุมตั้งแต่
การตั้งพิธีพลีกรรมบูชาครู แล้วไปเลือกหาชัยภูมิที่ตั้งคอก ซึ่งเป็นคอกทึบ
ทั้ง 3 ด้าน แล้วไล่ช้างทั้งโขลงเข้าคอก แล้วคล้องจับทุกตัว
4. การใช้หลุมพราง
เป็นการจับโดยขุดหลุมใหญ่ๆ ใช้ใบไม้ปิดแล้วต้อนช้างมาให้ตกหลุม ซึ่งวิธีนี้ไม่ได้พบบ่อยนัก เพราะยากและเสียเวลา
5. การจับในน้ำ
เป็นการจับช้างโดยต้องต้อนช้างลงน้ำลึกๆ แล้วใช้เรือขับไล่
6. การจับโดยใช้ช้างพังเป็นช้างต่อ
เป็นการให้ช้างพังอยู่เป็นอิสระในป่าและไปหาช้างพลายไปป่าเอง
โดยมีเชือกผูกติดตัวไปด้วย ซึ่งช้างพังที่ใช้เป็นช้างต่อนี้จะถูกฝึกมาอย่างดี
ในการผูกปมเชือกและจับช้างพวกเดียวกันมาให้มนุษย์
7. การจับลูกช้างบ้าน
เป็นการให้ช้างบ้านที่ท้องแก่ไปตกลูกและเลี้ยงลูกอยู่ในป่าใกล้ๆ
มีชีวิตอยู่อย่างตามธรรมชาติ เมื่อโตขึ้นได้ขนาดแล้วเจ้าของไปจับช้าง
ลูกบ้านนั้นมาฝึก โดยใช้เชือกบาศคล้องที่เท้าเช่นเดียวกับการจับช้างป่า

อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการไปจับช้าง มีดังนี้
1. เชือกบาศ หรือ เชือกปะกำ (ทางภาคใต้เรียก เชือกพวน)
2. ทามคอ หรือ ทาม
3. ไม้คันจาม
4. สายละโยง หรือโยง
5. ทวย หรือกาหรั่น หรือเดื่อง
6. สายรัดประโคน
7. หางกระแชง
8. ชะนักและสายชะนัก
9. สลก หรือซดก
10. ไม้งก
11. สนับมุก
12. เสนงเกล
ที่มา : หนังสือช้างราชพาหนะ


ขอขอบคุณผู้สนับสนุนเว็บไซต์ของเรา
#โรงแรมอารีน่า (Arena Hotel Surin)
Website : http://www.arenahotelsurin.com/ 
FB : https://www.facebook.com/ArenaHotel.Surin 
โทร : 044-519555 โทร : 063 356 2455

#โรงแรมมาติน่า (Martina Hotel Surin)
website : http://www.martinahotelsurin.com/ 
FB : https://www.facebook.com/martinahotel 
โทร : 044 713 555 มือถือ : 086 469 6545

#โรงแรมสวนปาล์มรีสอร์ท
โทร. 044-713333

บทความที่เกี่ยวข้อง
สำราญเริงใจ มหัศจรรย์ช้างใหญ่ เมืองสุรินทร์
ตะลอนข่าวเฟสติว้าว ขนทัพความสนุกแบบจัดเต็ม "สำราญเริงใจ มหัศจรรย์ช้างใหญ่ เมืองสุรินทร์" จัดเต็มความม่วนจอย 2 วัน ที่จังหวัดสุรินทร์
23 พ.ย. 2024
วิถีชีวิตของชาวช้าง
ตอนนี้ช้างทยอยเข้ามาในเมืองกันแล้วมาดูวิถีชีวิตของชาวช้าง ที่หลังค่ายทหารกันได้เลยวิถีแบบ real , ชมช้างอาบน้ำ
23 พ.ย. 2024
 มหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ โต๊ะอาหารช้าง
งานช้างสุรินทร์ ประจำปี2567 วันที่ 15 พ.ย. 2567 ร่วมเลี้ยงอาหารช้างบนโต๊ะความยาวกว่า 400 เมตร และ วันที่16-17 พ.ย.2567 ชมการแสดงช้าง ภาคกลางวัน
23 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy